PASSIVE Preamp? น่าเล่นไหม
โดย .....อ. ไมตรี ทรัพย์เอนกสันติ
ปรีแอมป์ 99.9% ในท้องตลาดจะเป็นปรีที่เรียกว่าปรี ACTIVE กล่าวคือ จะมีวงจรภาคขยาย (ที่ต้องใช้ไฟเลี้ยง,มีสายไฟ AC) ประกอบอยู่ในวงจรทั้งหมดด้วย
อย่างไรก็ตาม มีปรีอีกแบบที่มีแต่อุปกรณ์ชิ้นส่วนที่ไม่ใช้ไฟ (PASSIVE)? (เช่นตัวต้านทาน, วอลลูม, ตัวเลือกรายการ, ตัวเก็บประจุ, สาย) ไม่มีภาคขยายใดๆ (ACTIVE) จึงเรียกว่า ปรีแอมป์ แบบ PASSIVE
?????? จริงๆ แล้วที่มาของปรี PASSIVEน่าจะมาจากการทำเพาเวอร์แอมป์ที่ปรับระดับเสียงได้ (วอลลูม) โดยมีการนำวอลลูม (ซึ่งเป็นอุปกรณ์ PASSIVE อย่างหนึ่ง) มาคั่นที่ภาคขาเข้าเพื่อปรับระดับเสียงที่รับมาจากแหล่งรายการโดยไม่ต้องมีปรีต่อมาก็มีคนคิดยกภาควอลลูมนี้มาทำเป็นปรี PASSIVE แยกกล่องอยู่ภายนอกอีกที
ข้อดีของปรี PASSIVE
- ไม่ต้องยุ่งยากหาไฟ AC เสียบ
- ตัดปัญหาสัญญาณรบกวนจากไฟ AC
- ประหยัดค่าสายไฟ AC (สายไฟ AC ดีๆราคาหลายพันบาทถึงหลายหมื่นบาท)
- เนื่องจากการไม่มีภาคขยายใดๆตัดปัญหาความเพี้ยนจากภาคขยายโดยสิ้นเชิง เสียงน่าจะเกลี้ยงสะอาดหมดจดที่สุด (ขึ้นกับคุณภาพของอุปกรณ์ PASSIVE อื่นๆ ในเครื่องด้วย) ไม่มีการอิ่มตัว, อั้น เสียงจึงอิสระเต็มที่
- ทนทานที่สุด แทบจะเสียไม่เป็นเลย
- อัพเกรดง่าย แค่เปลี่ยนอุปกรณ์ PASSIVE ให้คุณภาพดีขึ้น(ตามกำลังทรัพย์ขณะนั้นๆ
ข้อเสียของปรี PASSIVE
- คุณภาพเสียงขึ้นอยู่กับความต้านทานขาออกของแหล่งรายการนั้นๆ ถ้าความต้านทานขาออกนั้นไม่ต่ำมากพอ การหมุนวอลลูมที่ปรี PASSIVE จะมีผลต่อคุณภาพเสียงทันที (เรียก SOURCE DEPENDENT)
- เช่นเดียวกัน ความต้านทานขาข้าวของเพาเวอร์แอมป์ต้องสูงมากพอมิเช่นนั้นสุ้มเสียงจะเปลี่ยนแปลงไปตามการหมุนวอลลูมของปรี PASSIVE ไม่ใช่แค่ความดังอย่างเดียว (LOAD DEPENDENT)
- พูดง่ายๆว่าปรี PASSIVE จะขี้เลือกอุปกรณ์แหล่งรายการและเพาเวอร์แอมป์จึงเอาแน่ไม่ได้ก่อนซื้อต้องขอเอามาลองกับ ชุดของเราเท่านั้น มิเช่นนั้นมีสิทธิฝันสลายได้ง่ายมาก อีกหน่อยจะเปลี่ยนรายการหรือเพาเวอร์แอมป์ก็ต้องนำมาลองว่าจะเข้ากับปรี PASSIVE ได้ไหม ยุ่งยากมาก วัดดวงอย่างเดียว เพราะมันไม่มีภาคกันชน (BUFFER ขาเข้า, ขาออกที่ใช้อุปกรณ์มีการขยายหรือ ACTIVE ที่ใช้ไฟแบบปรี ACTIVE )
- เนื่องจากเป็นปรี PASSIVE ไม่มีอัตราขยาย(GAIN)ถ้าแผ่นซีดีที่นำมาฟังเขาบันทึกค่อยมากหรือบันทึกดังเกินอาจเร่งวอลลูมให้ดังได้ไม่พอหรือหรี่ให้ค่อยไม่พอ ยิ่งถ้าใช้ลำโพงที่กินวัตต์มากๆ(ความไวต่ำ เช่น 85 db spc/w/m ลงมา)ทำให้ต้องเผื่อเหนียวหาเพาเวอร์แอมป์กำลังขับสูงมากๆเผื่อไว้ ก็จะมีปัญหากับแผ่นที่บันทึกดังมากๆ หรือต้องจ่ายค่าเพาเวอร์แอมป์สูงโดยไม่จำเป็น
- ถ้ามีแหล่งรายการมากแหล่ง แต่ละแหล่งให้ระดับสัญญาณต่างกันมาก จะปวดหัวมากกับการต้องคอยปรับวอลลูมตลอดเวลาและอาจถึงกับปรับได้ไม่ลงตัวด้วย
- เนื่องจากสัญญาณจะผ่านอุปกรณ์ PASSIVE อย่างเต็มตัว เพราะต้องพึ่งพาอุปกรณ์พวกนี้อย่างเดียวล้วนๆ คุณภาพเสียงจะดีหรือเลวจึงขึ้นอยู่กับคุณภาพ,บุคคลิกเสียงของอุปกรณ์ PASSIVE ลูกเดียว
- เป็นไปได้ว่า ปัญหาคลื่นความถี่สูงรบกวนจากภายนอก (RADIO FREQUENCY เช่น WIFI, โทรศัพย์มือถือ, รีโมท, จอ LCD/PLASMA, PC/โน้ตบุ๊ค/LAP TOP, นาฬิกาไฟฟ้า, สถานีวิทยุ-โทรทัศน์-เคเบิ้ล) อาจจะมีผลน้อยหรือมากกว่าปรีแบบ ACTIVE ก็ได้ (ปัญหารูปแบบต่างกัน)
- ซื้อมาแล้ว เวลาจะขาย ออกตัวยากเนื่องจากปัญหาดังกล่าวมาข้างต้น(คือหาคู่ให้มันยาก)
- ราคามักจะแพงมาก ทั้งๆที่มีชิ้นส่วนไม่มากเลย จากปัญหาของคุณภาพชิ้นส่วนที่ใช้ต้องระดับเทพจริงๆ คนไม่เข้าใจเปิดดูไส้ภายใน อาจร้องยี้ ซื้อไม่ลง เพราะแทบไม่มีอะไรเลย
จากปัญหาทั้ง 9 ข้อ มากเกินพอที่จะบดบังข้อดีของปรี PASSIVE จนติดลบ ในความเห็นของผู้เขียนจึงไม่อยากแนะนำให้เล่นปรี PASSIVE แต่ถ้าบังเอิญ ปรี PASSIVE ของคุณลงตัวได้ดีที่สุดกับเครื่องเล่น CD และเพาเวอร์แอมป์ของคุณแล้ว ก็ถือว่าโชคดี ต่อไปก็แค่อัพเกรดชิ้นส่วน PASSIVE ในปรี ให้ดีขึ้นๆ เท่านั้น (อย่าลืมฟังทิศทางของอุปกรณ์ด้วย)
?